01.เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน
โหติ ธมฺมฏฺโฐ เป็นต้น
ในวันหนึ่ง
พระภิกษุทั้งหลาย
เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้าน
ใกล้ประตูด้านทิศอุดรของนครพาราณสี
กลับจากบิณฑบาตแล้ว
จะกลับไปที่วัดพระเชตวัน
เกิดฝนตกหนัก จึงได้แวะไปพักรอฝนหยุดตก ที่ศาลยุติธรรมแห่งหนึ่ง
ได้เห็นพฤติกรรมของมหาอำนาจผู้วินิจฉัยทั้งหลาย(พวกตุลาการ หรือพวกผู้พิพากษา) รับสินบน
ทำให้ผู้ผิดกลายเป็นผู้ถูก
จึงคิดว่า
พวกมหาอำมาตย์เหล่านี้ไม่ตั้งอยู่ธรรม
แต่พวกเรามีความสำคัญว่าเป็นผู้ทำการวินิจฉัยคดีโดยธรรม เมื่อฝนหายตกแล้ว มาถึงวัดพระเชตวัน เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลสิ่งที่ได้พวกตนประสบให้พระศาสดาทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย
เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ส่วนพวกที่ไต่สวนความผิดแล้ว ตัดสินคดีความโดยปราศจากอคติ ตามสมควรแก่ความผิดนั่นแหละ เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น
เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ
เยนตฺถํ
สหสา นเย
โย
จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ
อุโภ
นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต ฯ
อสาหเสน
ธมฺเมน
สเมน
นยตี ปเร
ธมฺมสฺส
คุตฺโต เมธาวี
ธมฺมฏฺโฐติ
ปวุจฺจติ ฯ
บุคคลตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ
ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
พิจารณาทั้งข้อถูกและข้อผิด
ถึงจะตัดสินคดีความ.
บัณฑิต ไม่ตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ
แต่โดยสอดคล้องกับหลักกฎหมาย
เป็นผู้คุ้มครองกฎหมาย
เรากล่าวว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริบผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
-------------------------------------------------------------------
02. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน
ปณฺฑิโต โหติ เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง พระฉัพพัคคีย์(พระกลุ่ม 6 )
ได้เที่ยวทำให้โรงฉัน ทั้งในวัดและในบ้าน เกิดสกปรกเลอะเทอะ วันหนึ่ง
ขณะที่ภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อย
กำลังฉันภัตตาหารอยู่นั้น
พระฉัพพัคคีย์ก็ได้เข้าไปคุยโวโอ้อวดต่อหน้าภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อยเหล่านั้นว่า พวกเรานี่แหละเป็นบัณฑิต จากนั้นก็เริ่มขวางปาสิ่งของต่างๆจนโรงฉันเกิดความเลอะเทอะไปทั่ว ภิกษุทั้งหลาย
ไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกคนที่พูดมาก เบียดเบียนผู้อื่นว่า เป็นบัณฑิต แต่เราเรียกคนที่มีความเกษม ไม่มีเวร
ไม่มีภัยเลยว่า เป็นบัณฑิต”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
น
เตน ปณฺฑิโต โหติ
ยาวตา
พหุ ภาสติ
เขมี
อเวรี อภโย
ปณฺฑิโตติ
ปวุจฺจติ.
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
เพราะเหตุเพียงพูดมาก
ส่วนผู้มีความเกษม ไม่มีเวร
ไม่มีภัย
เรากล่าวว่า
เป็นบัณฑิต.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
------------------------------------------------------------------
03.เรื่องพระเอกุทานเถระ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระขีณาสพ(พระผู้สิ้นกิเลส)ชื่อว่าเอกุทานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น
ตาวตา ธมฺมธโร เป็นต้น
พระเอกุทานเถระ (พระเถระมีคำอุทานบทเดียว)
พำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งองค์เดียว
ท่านชอบกล่าวคำอุทานกถาบทเดียวนี้ว่า “ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ศึกษาในทางโมนปฏิบัติ ผู้คงที่
ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ” พอถึงวันอุโบสถ
ท่านพระเอกุทานเถระก็จะป่าวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายมาฟังธรรมกัน แล้ว
ท่านพระเอกุทานเถระก็จะกล่าวอุทานกถาบทนี้
และเมื่อท่านเอกุทานเถระกล่าวอุทานกถาบทนี้จบลง
พวกเทวดาในป่าก็จะส่งเสียงสาธุการดังสนั่นหวั่นไหว ต่อมา
ในวันอุโบสถวันหนึ่ง ภิกษุทรงจำพระไตรปิฎก 2
รูป พร้อมบริวารรูปละ 500
พากันไปยังสถานที่ท่านพระเอกุทานเถระพำนักอยู่นั้น
พระเอกุทานเถระได้นิมนต์พระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้งสองรูปนั้นแสดงธรรม พระเถระทรงพระไตรปิฎกสองรูปนั้นได้ถามท่านพระเอกุทานเถระว่า ที่นี่มีคนฟังธรรมด้วยหรือ ท่านพระเอกุทานเถระเรียนว่า
มีเทวดามาฟังธรรมและจะส่งเสียงสาธุการทุกครั้งที่การแสดงธรรมจบลง
แต่พอพระทรงจำพระไตรปิฎกทั้งสององค์ผลัดกันแสดงธรรม พอการแสดงธรรมของแต่ละองค์จบลง
ก็ไม่มีเสียงสาธุการของเทวดาทั้งหลายให้ได้ยิน พระทรงจำพระไตรปิฎกั้งสององค์เกิดความสงสัยในคำพูดของพระเอกุทานเถระที่บอกว่าเมื่อการแสดงธรรมจบลงก็จะมีเสียงเทวดาส่งเสียงสาธุการสนั่นหวั่นไหว
แต่พระเอกุทานเถระก็ยังยืนยันอย่างแข็งขันว่า ที่ผ่านมาเมื่อการแสดงธรรมจบลงจะมีเสียงสาธุการของเทวดาในทุกครั้ง
ดังนั้น
พระทรงจำพระไตรปิฎกทั้งสองรูป
จึงขอให้พระเอกุทานเถระแสดงธรรมดูบ้าง
พระเอกุทานเถระจึงได้จับพัดมาบังหน้าแล้วกล่าวอุทานกถาดังข้างต้นนั้น พอพระเอกุทานเถระกล่าวอุทานกถาบทนั้นจบลง
ก็มีเสียงเทวดาส่งเสียงสาธุการดังสนั่นหวั่นไหว
พระภิกษุบริวารของพระเถระผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั้งสององค์นั้น กล่าวหาว่าพวกเทวดาในป่าลำเอียง จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระศาสดา เมื่อเดินทางกลับมายังพระเชตวัน พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือพูดมากว่า
เป็นผู้ทรงธรรม
ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม”
จากนั้น
พระศาสดาตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
น
ตาวตา ธมฺมธโร
ยาวตา
พหุ ภาสติ
โย
จ อปฺปํปิ สุตฺวาน
ธมฺมํ
กาเยน ปสฺสติ
ส
เว ธมฺมธโร โหตุ
โย
ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ ฯ
บุคคล
ไม่ชื่อว่าทรงธรรม
เพราะเหตุที่พูดมาก
ส่วนบุคคลใด
ฟังแม้นิดหน่อย
ย่อมเห็นธรรมด้วยนามกาย
บุคคลใด
ไม่ประมาทธรรม
บุคคลนั้นแล
เป็นผู้ทรงธรรม.
------------------------------------------------------------------------
04.เรื่องลกุณฏกภัททิยะ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระลกุณฏกภัททิยเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน
เถโร โหติ เป็นต้น
วันหนึ่ง
พระจำนวน 30
รูป มาเฝ้าพระศาสดา และพระศาสดาทรงทราบว่า พระทั้ง 30
รูปนั้นมุอุปนิสัยที่จะได้สำเร็จพระอรหัตตผล ดังนั้น
พระศาสดาจึงทรงสอบถามพระภิกษุเหล่านั้นว่า เห็นพระเถระรูปหนึ่งก่อนจะเข้ามาในห้องพระคันธกุฎีหรือไม่
เมื่อพระเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เห็นพระเถระเห็นแต่สามเณรรูปหนึ่ง พระศาสดาตรัสว่า”
“ภิกษุทั้งหลาย
นั่นไม่ใช่สามเณร นั่นเป็นพระเถระ”
เมื่อพระเหล่านั้นกราบทูลว่า “องค์เล็กจัง เป็นพระเถระได้อย่างไร”
พระศาสดาจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกว่า เถระ เพราะความเป็นคนแก่ เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ ส่วนผู้ใด
แทงตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว
ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน
ผู้นี้ ชื่อว่าเป็นเถระ”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น เตน เถโร
โหติ
เยนสฺส
ปลิตํ สิโร
ปริปกฺโก
วโย ตสฺส
โมฆชิณฺโณติ
วุจฺจติ ฯ
ยมฺหิ
สจฺจญฺจ ธมฺโม จ
อหึสา
สญฺญโม ทโม
ส
เว วนฺตมโล ธีโร
โส
เถโรติ ปวุจฺจติ ฯ
บุคคล
ไม่ชื่อว่าเถระ
เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ
ผู้มีวัยแก่หง่อมแล้วนั้น
เราเรียกว่า แก่เปล่า.
ส่วนผู้ใด
มีสัจจะ ธรรมะ
อหิงสา
สัญญมะ และทมะ
ผู้นั้นแล
ผู้มีมลทินอันคายแล้ว
ผู้มีปัญญา เรากล่าวว่า เป็นพระเถระ.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุเหล่านั้น บรรลุอรหัตตผล.
---------------------------------------------------------------
05.เรื่องภิกษุมากรูป
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภภิกษุมากรูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น วากฺกรณมตฺเตน
เป็นต้น
ในวัดนั้น
ภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อย
จะทำการดูแลอาจารย์ผู้บอกธรรมของตน
ด้วยกิจต่างๆ เช่น การย้อมจีวรเป็นต้น
พระเถระพวกหนึ่งสังเกตเห็นวัตรปฏิบัติเหล่านี้ ก็เกิดความริษยา
และได้คิดแผนอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อจะให้เกิดประโยชน์แก่พวกตนบ้าง โดยแผนนี้ก็คือ
พวกพระเถระเหล่านี้จะกราบทูลแนะนำพระศาสดาว่าให้ออกกฎว่า พวกภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อย แม้ว่าจะทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์ของตนแล้ว ก็จะต้องมาขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากพระเถระเหล่านี้ด้วย
เมื่อพระเถระเหล่านี้ไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา
พระศาสดาทรงทราบวัตถุประสงค์แอบแฝงของพระเถระเหล่านั้น ได้ตรัสว่า
“เราไม่เรียกพวกเธอว่า
คนดี เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน ส่วนผู้ใด
ตัดธรรมมีความริษยาเป็นต้นเหล่านี้ได้แล้ว
ด้วยอรหัตตมรรค
ผู้นี้แหละชื่อว่าคนดี”
พระศาสดา
ได้ตรัสพระธรรมบท สองพระคาถานี้ว่า
น
วากฺกรณมตฺเตน
วณฺณโปกฺขรตาย
วา
สาธุรูโป
นโร โหติ
อิสฺสุกี
มจฺฉรี สโฐ ฯ
ยสฺส
เจตํ สมุจฺฉินฺนํ
มูลฆจฺฉํ
สมูหตํ
ส
วนฺตโทโส เมธาวี
สาธุรูโปติ
วุจฺจติ ฯ
นระ
ผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด
จะชื่อว่าคนดี
เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน
หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่.
ส่วนผู้ใด
ตัดความริษยาเป็นต้นได้ขาดแล้ว
ถอนขึ้นให้รากขาด
ผู้นั้น
มีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา
เราเรียกว่า
คนดี.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
--------------------------------------------------------------------
06.เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี
ทรงปรารภภิกษุชื่อหัตถกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น
มุณฑเกน สมโณ เป็นต้น
พระหัตถกะ
ชอบไปท้าพวกเดียรถีย์ให้มาโต้วาทีกันกับท่าน ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อถึงกำหนดเวลาที่นัดหมายกันนั้น พระหัตถกะก็จะไปยังสถานที่นัดหมายกันนั้นก่อนเวลา แล้วคุยโอ้อวดว่า “ ดูเถิดท่านทั้งหลาย พวกเดียรถีย์ไม่มา เพราะกลัวผม
นี่แหละเป็นความแพ้ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น” พระศาสดาทรงทราบพฤติกรรมของพระหัตถกะนั้นแล้ว ตรัสเรียกมาสอบถาม และเมื่อพระหัตถกะยอมรับความจริงนั้น ตรัสว่า
“เหตุไฉน เธอจึงทำอย่างนั้น ? ด้วยว่า
ผู้ทำมุสาวาทเห็นปานนั้น จะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นหามิได้ ส่วนผู้ใด
ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบแล้วตั้งอยู่
ผู้นี้แหละชื่อว่าสมณะ”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น
มุณฺฑเกนะ สมโณ
อพฺพโต
อลิกํ ภณํ
อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน
สมโณ
กึ ภวิสฺสติ ฯ
โย
จ สเมติ ปาปานิ
อณุถูลานิ
สพฺพโส
สมิตตฺตา
หิ ปาปานํ
สมโณติ
ปวุจฺจติ ฯ
ผู้ไม่มีวัตร
พูดเหลาะแหละ
ไม่ชื่อว่าสมณะ เพราะศีรษะโล้น
ผู้ประกอบด้วยความอยาก และความโลภ
จะเป็นสมณะอย่างไรได้”
ส่วนผู้ใด
ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบ
โดยประการทั้งปวง
ผู้นั้น
เรากล่าวว่า เป็นสมณะ
เพราะยังบาปให้สงบแล้ว.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
------------------------------------------------------------------
07.เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน
ภิกขุ โส โหติ
เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่ง บวชในศาสนาอื่นที่มิใช่พุทธศาสนา และเดินเที่ยวบิณฑบาต วันหนึ่ง
พราหมณ์ผู้นี้คิดว่า
พระสมณโคดมประกาศว่า
ผู้ที่มีชีวิตจากการบิณฑบาตเรียกว่าภิกษุ
เมื่อเป็นเช่นนั้น
เราก็น่าจะถูกเรียกว่าภิกษุได้เหมือนกัน
เมื่อคิดดังนี้แล้ว
พราหมณ์ก็ได้ไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็เที่ยวภิกษา เลี้ยงชีพอยู่
พระองค์จงเรียกแม้ข้าพเจ้าว่าภิกษุ” พระศาสดาตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า
“ พราหมณ์ เราหาเรียกว่า ภิกษุ เพราะอาการเพียงขอเขาไม่
เพราะผู้สมาทานธรรมอันเป็นพิษแล้วประพฤติอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าภิกษุหาได้ไม่
ส่วนผู้ใดเที่ยวไปด้วยพิจารณาสังขารทั้งปวง ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ”
จากนั้น
พระศาสดาตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น
เตน ภิกฺขุ โส
โหติ
ยาวตา
ภิกฺขเต ปเร
วิสํ
ธมฺมํ สมาทาย
ภิกฺขุ
โหติ น ตาวตา ฯ
โยธ
ปุญฺญญฺเจ ปาปญฺจ
วาเหตฺวา
พฺรหฺมจริยวา
สงฺขาย
โลเก จรติ
ส
เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ฯ
บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ
เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่นหามิได้
บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ
ไม่ชื่อว่าภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น.
ผู้ใดในศาสนานี้
ลอยบาปและบุญได้แล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์
รู้ธรรมในโลก
ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป
ผู้นั้นแลเราเรียกว่า ภิกษุ.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
-------------------------------------------------------------------
08.เรื่องเดียรถีย์
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตะวัน
ทรงปรารภพวกเดียรถีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น โมเนน
เป็นต้น
พวกเดียรถีย์
จะกล่าวคำอำนวยอวยพร แก่คนที่นำสิ่งของหรืออาหารมาให้ ว่า “ความเกษมจงมี ความสุขจงมี
อายุจงเจริญ
ในที่ชื่อโน้นมีเปือกตม
ในที่ชื่อโน้นมีหนาม
การไปสู่ที่เห็นปานนั้นไม่ควร” ในขณะนั้น เป็นช่วงปฐมโพธิกาล (ช่วง 25
ปีแรกหลังจากตรัสรู้) พระศาสดายังไม่ทรงอนุญาตวิธีอนุโมทนา ภิกษุทั้งหลาย
จึงยังไม่ทำอนุโมทนาแก่พวกมนุษย์ในโรงฉัน
พวกมนุษย์จึงพูดกันว่า “พวกเราได้ฟังมงคลแต่สำนักของเดียรถีย์ทั้งหลาย แต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนิ่งเฉยหลีกไปเสีย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำความขึ้นกราบทูลพระศาสดา
พระศาสดาจึงทรงอนุญาตว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไป
ท่านทั้งหลาย จงทำอนุโมทนา ในที่ทั้งหลายมีโรงฉันเป็นต้น ตามสบายเถิด
จงกล่าวอุปนิสินนกถา(ถ้อยคำที่กล่าวกับบุคคลผู้เข้าใกล้) เถิด”
และภิกษุทั้งหลายได้กระทำตามพุทธานุญาตแล้ว โดยได้กล่าวคำอำนวยอวยพรแก่ญาติโยมที่ถวายทาน เพราะผลของการกล่าวคำอำนวยอวยพรของภิกษุทั้งหลายนี้เอง
จึงมีผู้คนมานิมนต์พระภิกษุทั้งหลายไปรับภัตตาหารมากขึ้นๆ พวกเดียรถีย์กล่าวตำหนิว่า “ พวกเราเป็นมุนีทำความเป็นผู้นิ่ง พวกสาวกของพระสมณโคดม เที่ยวกล่าวกถามากมาย ในที่ทั้งหลายมีโรงฉันเป็นต้น”
พระศาสดา ทรงสดับความนั้นแล้ว ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่ามุนี เพราะเหตุสักว่าเป็นผู้นิ่ง
เพราะคนบางพวกไม่รู้ ย่อมไม่พูด
บางพวกไม่พูด
เพราะความเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
บางพวกไม่พูด เพราะตระหนี่ว่า
คนเหล่าอื่นอย่ารู้เนื้อความอันดียิ่งนี้ของเรา เพราะฉะนั้น
คนไม่ชื่อว่ามุนี
เพราะเหตุสักว่าเป็นคนนิ่ง
แต่ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะยังบาปให้สงบ”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น
โมเนน มุนิ โหติ
มุฬฺหรูโป
อวิทฺทสุ
โย จ
ตุลํว ปคฺคยฺห
วรมาทาย
ปณฺฑิโต ฯ
ปาปานิ
ปริวชฺเชติ
ส มุนิ เตน
โส มุนิ
โย
มุนาติ อุโภ โลเก
มุนิ
เตน ปวุจฺจติ ฯ
บุคคลเขลา
ไม่รู้โดยปกติ
ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะความเป็นผู้นิ่ง
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
ถือธรรมอันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตราชั่ง.
เว้นบาปทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น
ผู้ใดรู้อรรถทั้ง 2 ในโลก
ผู้นั้นเรากล่าวว่า เป็นมุนี
เพราะเหตุนั้น.
ผู้นั้นเรากล่าว่า เป็นมุนี
เพราะเหตุนั้น.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
-----------------------------------------------------------------
09.เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตะวัน
ทรงปรารภพรานเบ็ดชื่ออริยะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน
อริโย เป็นต้น
วันหนึ่ง
พระศาสดา
ทรงเห็นอุปนิสัยที่จะได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ของนายพรานเบ็ดชื่ออริยะ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูเมืองด้านทิศอุดรแห่งกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เมื่อเสด็จกลับมาจากบิณฑบาต ได้ทรงแวะในที่ซึ่งนายอริยะกำลังตกปลาอยู่
นั้น เมื่อนายอริยะเห็นพระศาสดา ก็ได้โยนเบ็ดทิ้ง แล้วเข้าไปยืน ณ ที่ใกล้พระศาสดา พระศาสดาทรงเริ่มต้นด้วยการถามชื่อของพระภิกษุทั้งหลาย ที่ตามเสด็จพระองค์มาในครั้งนี้ ต่อหน้านายอริยะ และในที่สุดได้ตรัสถามชื่อของนายอริยะบ้าง เมื่อเขาตอบว่าชื่ออริยะ ตรัสว่า
“อุบาสก ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่าน จะชื่อว่าอริยะไม่ได้ ส่วนผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมหาชน จึงจะเรียกว่าอริยะ”
จากนั้น
พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
น
เตน อริโย โหติ
เยน
ปาณานิ หึสติ
อหึสา
สพฺพปาณานํ
อริโยติ
ปวุจฺจติ ฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าอริยะ
เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์
บุคคลที่เรากล่าวว่า เป็นอริยะ
เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง พรานเบ็ดบรรลุโสดาปัตติผล พระธรรมเทศฯมีประโยชน์ แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.
-----------------------------------------------------------------
10. เรื่องภิกษุมากรูป
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น
สีลพฺพตมตฺเตน เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง ในหมู่ภิกษุทั้งหลาย บางพวกมีศีลสมบูรณ์ บางพวกทรงไว้ซึ่งธุดงค์ บางพวกเป็นพหูสูต บางพวกอยู่ในเสนาสนะอันสงัด บางพวกได้ฌาน
บางพวกบรรลุอนาคามิผล
ภิกษุเหล่านี้ต่างคิดว่า
เมื่อพวกตนมีคุณสมบัติที่ดีอย่างนี้แล้วเช่นนี้ การที่พวกตนจะบรรลุพระอรหัตตผลนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย อยู่มาวันหนึ่ง พระภิกษุเหล่านี้ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อถวายบังคมแล้ว พระศาสดาได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้วหรือหนอ” ภิกษุแต่ละพวกก็ได้กราบทูลรายงานถึงคุณธรรมที่พวกตนปฏิบัติหรือได้บรรลุแล้วนั้น และได้กราบทูลความมั่นใจของพวกตนด้วยว่า “เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์จึงคิดว่า
พวกเราสามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตในขณะที่ปรารถนาแล้วๆ นั่นเอง”
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุจะเห็นว่า ทุกข์ในภพของเราน้อย
ด้วยคุณสักว่าความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นต้น หรือด้วยคุณสักว่าความสุขของพระอนาคามี ไม่สมควร
และยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ
ไม่พึงให้ความคิดเกิดขึ้นว่า
เราถึงสุขแล้ว “
จากนั้น
พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น
สีลพฺพตมตฺเตน
พาหุสจฺเจน
วา ปน
อถวา
สมาธิลาเภน
วิวิตฺตสยเนน
วา ฯ
ผุสามิ เนกฺขมฺมสุขํ
อปุถุชฺชนเสวิตํ
ภิกฺขุ
วิสฺสาสมาปาทิ
อปฺปตฺโต
อาสวกฺขยํ ฯ
ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย (สิ้นอาสวะ)
อย่าเพิ่งถึงความวางใจ
ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร
ด้วยความเป็นพหูสูต
ด้วยอันได้สมาธิ
ด้วยอันนอนในที่สงัด
หรือด้วยเหตุเพียงรู้ว่า
เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ
ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตตผล พระธรรมเทศนา
มีประโยชน์ แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น