04.เรื่องสูกรเปรต
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
ทรงปรารภสูกรเปรต
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
วาจานุรกฺขี เป็นต้น
ครั้งหนึ่ง
พระมหาโมคคัลลานเถระ เดินลงมาจากเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยพระลักขณเถระ
ได้แลเห็นเปรตที่ร่างเป็นมนุษย์แต่มีศีรษะเป็นสุกร เมื่อเห็นเปรตตนนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้ยิ้มออกมา แต่ก็ไม่ได้พูดอะไรกับพระลักขณะเถระ เมื่อเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว ก็ได้นำเรื่องเปรตตนนี้มาทูลพระศาสดาให้ทรงทราบ
พระศาสดาตรัสว่าพระองค์ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนนี้ที่ควงต้นโพธิ์เหมือนกันในช่วงที่ตรัสรู้ใหม่ๆ แต่ก็ไม่ได้ตรัสบอกแก่ใครๆ เพราะกลัวว่าผู้คนจะไม่เชื่อ
และจะไม่บังเกิดผลดีอะไร
จากนั้นพระศาสดาได้นำเรื่องบุรพกรรมของเปรตตนนั้นมาทรงเล่าว่า
ในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า เปรตตนนี้เป็นภิกษุผู้สอนธรรม มีอยู่คราวหนึ่ง ได้มาที่วัดแห่งหนึ่ง พบพระภิกษุ 2 รูปพักอยู่ด้วยกันในวัดแห่งนี้ หลังจากที่ได้มาพักอยู่ที่วัดนี้ไม่นาน ก็พบว่ามีญาติโยมมาขึ้นท่านมาก
ท่านจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า ท่านควรจะหาทางให้พระสองรูปที่อยู่มาแต่เดิมออกไปจากวัดเสีย แล้วท่านจะได้อยู่ในวัดนี้เพียงรูปเดียว ท่านจึงได้พยายามยุแหย่พระทั้งสองรูปนั้น จนพระสองรูปเกิดทะเลาะกันและออกจากวัดนั้นไปคนละทิศละทาง เพราะผลกรรมชั่วครั้งนั้น ทำให้ท่านไปเกิดในอเวจีนรก และด้วยเศษของกรรมนั้น ท่านได้มาเกิดเป็นเปรตตนที่พระมหาโมคคัลานเถระเห็น จากนั้น
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าภิกษุ พึงเป็นผู้เข้าไปสงบด้วยกาย วาจา และใจ”
จากนั้น
พระศาสดาตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
วาจานุรกฺขี
มนสา สุสํวุโต
กาเยน
จ อกุสลํ น
กยิรา
เอเต
ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย
อาราธเย
มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํ ฯ
บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วยใจ
และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย
พึงยังกรรมบถทั้ง 3
เหล่านี้ให้หมดจด
พึงยินดีทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณประกาศแล้ว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น