05.เรื่องนายทารุสากฏิกะ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
ทรงปรารภบุตรของนายทารุสากฏิกะ(คนขับเกวียนบรรทุกไม้) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สุปฺปพุทฺธํ
เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์
ชายผู้หนึ่งขับเกวียนเข้าไปตัดไม้ในป่าพร้อมด้วยบุตร เมื่อเดินทางจะกลับมาบ้านในตอนเย็น ได้หยุดพักเกวียนที่เต็มไปด้วยไม้ต่างๆ
ไว้ที่ใกล้ป่าช้า
เพื่อจะได้รับประทานอาหารเย็น
พวกเขาปลดโคออกจากแอกเกวียน ปล่อยให้มันและเล็มหญ้าอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น แต่โคสองตัวนั้นได้หายไป ผู้เป็นบิดาจึงออกเที่ยวตามหาไปตามที่ต่างๆ กว่าจะพบก็ตกเย็น ประตูเมืองปิด เข้าไปในตัวเมืองไม่ได้ จึงต้องปล่อยบุตรชายให้ต้องนอนอยู่ที่ใต้เกวียนแต่ลำพัง
บุตรชายของคนขับเกวียนนั้น
แม้ว่าจะยังเป็นเด็กอยู่
แต่เป็นเด็กสัมมาทิฏฐิ
ระลึกถึงพุทธานุสสติเสมอ
ในคืนนั้น มีอมนุษย์ 2
ตนมาจะทำร้ายบุตรของชายขับเกวียนนั้น
โดยอมนุษย์ตนหนึ่งได้เข้ามาดึงที่ขาของเด็กนั้น เด็กนั้นได้ร้องขึ้นมาว่า “นโม
พุทฺธสฺส” (แปลว่า ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า) เพราะเคยอุทานคำประโยคนี้อยู่เป็นประจำ เมื่อได้ยินคำประโยคนี้ออกจากปากของเด็ก พวกอมนุษย์ก็ตกใจ และมีความรู้สึกว่าไม่ควรจะทำร้ายเด็กนี้ แต่ควรจะช่วยปกปักรักษา
อมนุษย์ตนหนึ่งจึงได้เข้าไปอยู่ใกล้ๆและช่วยระแวดระวังภัยให้เด็กนั้น ส่วนมนุษย์อีกตนหนึ่งก็ได้ไปที่พระราชวังของพระเจ้าพิมพิสารและได้นำถาดทองบรรจุพระกระยาหารของพระราชามาให้เด็กนั้นรับประทาน
โดยอมนุษย์ทั้งสองตนนั้นได้จำแลงกายเป็นบิดามารดามาคอยดูแลในขณะที่เด็กนั้นรับประทานอาหาร เมื่อเด็กรับประทานอาหารอิ่มแล้ว
อมนุษย์ได้จารึกข้อความบรรยายเรื่องต่างๆลงที่ถาดทองนั้นทิ้งไว้ และให้อ่านออกได้เฉพาะพระราชาเท่านั้น
เมื่อถึงรุ่งเช้า พวกราชบุรุษพบว่าถาดทองใส่พระกระยาหารของพระราชาหายไป ก็ตื่นตระหนกและพากันตามหา ทั้งในเมืองและนอกเมือง และก็ได้ไปพบถาดทองนั้นอยู่บนเกวียนบรรทุกฟืน จึงจับเด็กคนนั้นไปถวายพระราชา พระราชาทรงสอบถาม เด็กนั้นได้กราบทูลว่า เขาเห็นบิดามารดานำถาดอาหารนี้มาให้เขารับประทานในตอนกลางคืน
แล้วเขาก็นอนหลับสนิทโดยปราศจากสิ่งอื่นใดมารบกวน
พระราชาได้รับสั่งให้ไปตามหาบิดามารดาของเด็กนั้นจนพบและถูกนำตัวมาเฝ้าพระราชา จากนั้น
พระราชาจึงทรงนำคนทั้งสามเข้าเฝ้าพระศาสดา
ซึ่งพอถึงตอนนี้พระราชาได้ทรงทราบจากเด็กแล้วว่า เขาเป็นผู้ระลึกถึงพุทธานุสสติและได้เปล่งอุทานว่า
“นโม ตสฺส”ในตอนที่มีอมนุษย์มาดึงที่ขาในคืนนั้น
พระราชากราบทูลถามพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พุทธานุสสติ
อย่างเดียวเท่านั้นหรือที่สามารถปกป้องคุ้มครองอันตรายได้ ?
หรือว่า
ธัมมานุสสติ ก็มีอานุภาพในการปกป้องคุ้มครองอันตรายได้เหมือนกัน ?”
พระศาสดาตรัสว่า “มหาบพิตร มิใช่จะมีแต่พุทธานุสสติเท่านั้น ที่จักสามารถปกป้องคุ้มครองภยันตรายได้ แต่ทว่ายังมีสิ่งอื่นอีก 6 อย่างที่สามารถปกป้องภยันตรายได้อีกเหมือนกัน”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
หกพระถาเหล่านี้ว่า
สุปฺปพุทธํ
ปพุชฺฌนฺติ
สทา
โคตมสาวกา
เยสํ
ทวา จ รตฺโต
จ
นิจฺจํ
พุทฺธคตา สติ.
สุปฺปพุทธํ
ปพุชฺฌนฺติ
สทา
โคตมสาวกา
เยสํ
ทวา จ รตฺโต
จ
นิจฺจํ
ธมฺมคตา สติ.
สุปฺปพุทธํ
ปพุชฺฌนฺติ
สทา
โคตมสาวกา
เยสํ
ทวา จ รตฺโต
จ
นิจฺจํ
สงฺฆคตา สติ.
สุปฺปพุทธํ
ปพุชฺฌนฺติ
สทา
โคตมสาวกา
เยสํ
ทวา จ รตฺโต
จ
นิจฺจํ
กายคตา สติ.
สุปฺปพุทธํ
ปพุชฺฌนฺติ
สทา
โคตมสาวกา
เยสํ
ทวา จ รตฺโต
จ
อหึสาย
รโต มโน.
สุปฺปพุทธํ
ปพุชฺฌนฺติ
สทา
โคตมสาวกา
เยสํ
ทวา จ รตฺโต
จ
ภาวนาย
รโต มโน.
สติของชนเหล่าใด
ไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้น
เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ.
สติของชนเหล่าใด
ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้น
เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ.
สติของชนเหล่าใด
ไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้น
เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ.
สติของชนเหล่าใด
ไปแล้วในกายเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้น
เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ.
ใจของชนเหล่าใด
ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้น
เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ.
ใจของชนเหล่าใด
ยินดีแล้วในภาวนา
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ทารกนั้น
บรรลุโสดาปัตติผล
พร้อมด้วยมารดาและบิดาแล้ว ต่อมา ชนแม้ทั้งหมด
บวชแล้วบรรลุอรหัตตผล
พระธรรมเทศนา มีประโยชน์ แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น