06. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
ทรงปรารภอุคคเสน
ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า มุญฺจ ปุเร
เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง
คณะแสดงละครเร่ประกอบด้วยนักเต้นรำและนักกายกรรมจำนวน 500 คน
ได้ไปเปิดการแสดงอยู่ที่พระลานหลวงในกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารเป็นเวลา 7
วัน
ในคณะแสดงละครมีหญิงนักเต้นเยาว์วัยคนหนึ่งเป็นลูกชาวของนักแสดงกายกรรม
ได้ขึ้นไปร้องรำทำเพลงอยู่บนปลายไม่ไผ่ยาวๆ นายอุคคเสนซึ่งเป็นบุตรชายของเศรษฐี เกิดหลงรักหญิงนักเต้นคนนี้มาก อยากจะแต่งงานกับนางให้ได้ แม้บิดามารดาจะห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง เมื่อแต่งงานกันแล้ว
นายอุคคเสนก็ได้ติดตามคณะละครเร่ไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ อุคคเสนเต้นรำเป็นแต่เล่นกายกรรมไม่เป็น จึงไม่เป็นที่ต้องการของคณะละครมากนัก
เมื่อคณะละครเร่ได้ร่อนเร่ไปเปิดการแสดงตามที่ต่างๆ อุคคเสนจึงมีหน้าที่เป็นเพียงกุลีขนหีบเสื้อผ้าบ้างเป็นคนขับเกวียนบ้างเท่านั้นเอง
เมื่อกาลเวลาผ่านไป
อุคคเสนก็มีบุตรชายคนหนึ่งเกิดกับหญิงนักเต้นสาวคนนี้ หญิงนักเต้นได้พูดหยอกล้อบุตรว่า “ไอ้ลูกของคนเฝ้าเกวียน ไอ้ลูกของคนหาบของ ไอ้ลูกของคนไม่รู้อะไร”
อุคคเสนได้ยินคำพูดของภรรยาเช่นนั้น ก็เกิดความเจ็บใจ จึงไปหาพ่อตาซึ่งเป็นนักแสดงกายกรรม
ขอให้ช่วยฝึกหัดการแสดงกายกรรมให้
หลังจากได้รับการฝึกฝนได้ไดไม่ถึงปีดี
อุคคเสนก็มีความชำนาญในการแสดงกายกรรมเป็นอย่างมาก
จากนั้น
อุคคเสนก็ได้กลับไปที่กรุงราชคฤห์
และได้มีการโฆษณาว่าอีก 7
วันนายอุคคเสนจะมาแสดงกายกรรม พอถึงวันที่
7
เมื่อมีประชาชนมาชุมนุมเพื่อชมการแสดงเป็นจำนวนมาก
โดยนายอุคคเสนก็ได้ไปยืนแสดงกายกรรมบนปลายไม้ไผ่สูงถึง 60
ศอก
ในวันนั้นพระศาสดาทรงตรวจดูสัสวโลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุคคเสนเข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์ และเขาจักได้บรรลุพระอรหัตตผล และการบรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์จำนวน 8 หมื่น 4 พัน
เพราะฟังธรรมจากพระองค์
ในวันรุ่งขึ้น พระองค์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต
ซึ่งก็เป็นช่วงพอดีกับที่อุคคเสนกำลังแสดงกายกรรมบนปลายลำไม้ไผ่ พอเห็นพระศาสดาเสด็จมา
ผู้ชมการแสดงก็ละสายตาจากการแสดงของนายอุคคเสนมาที่พระศาสดา นายอุคคเสนเห็นเช่นนั้นก็เกิดความเสียใจ
นั่งเฉยอยู่บนปลายไม่ไผ่
พระศาสดาได้รับสั่งให้พระโมคคัลลานเถระไปเจรจาให้นายอุคคเสนะดำเนินการแสดงต่อไป เมื่อสิ้นสุดรายการการแสดงแล้ว ได้ตรัสกับเขาว่า “อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิต
ต้องละความอาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันเสียแล้ว
พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร”
จากนั้น
พระศาสดาจึงได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
มุญฺจ
ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต
มชฺเฌ
มุญฺจ ภวสฺส ปารคู
สพฺพตฺถ
วิมุตฺตมานโส
น
ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ ฯ
ท่านจงเปลื้อง(อาลัย) ในก่อนเสีย
จงเปลื้อง(อาลัย) ข้างหลังเสีย
จงเปลื้อง(อาลัย)ในท่ามกลางเสีย
จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวง
จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง การบรรลุธรรมพิเศษ ได้มีแล้ว
แก่ชนเป็นอันมาก.
ฝ่ายอุคคเสน
กำลังยืนอยู่ปลายไม่ไผ่
บรรลุพระอรหัตตผล
พร้อมปฏิสัมภิทา
ได้ลงจากลำไผ่มาสู่ที่ใกล้พระศาสดา
ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์
ทูลขอพรรพชา
พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสกับนายอุคคเสนนั้นว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด” (ไม่มีคำต่อไปว่า จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด เพราะท่านเป็นพระอรหันต์มาก่อนบวชแล้ว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น