25.เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
ทรงปรารภพระปิลินทวัจฉเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อกกฺกสํ
เป็นต้น
พระปิลินทวัจฉเถระ ติดนิสัยพูดคำไม่สุภาพกับคนอื่น เช่น
พูดว่า “มานี่
คนถ่อย ไปนั่น คนถ่อย” เป็นต้น
จะใช้คำว่า “คนถ่อย”นี้ทั้งกับคฤหัสถ์แลละบรรพชิต
ภิกษุทั้งหลายได้นำความนี้ขึ้นกราบบังคมพระศาสดาว่า “พระเจ้าข้า
ท่านปิลินทวัจฉะ
ย่อมเรียกภิกษุด้วยถ้อยคำไม่สุภาพว่า
คนถ่อย” พระศาสดารับสั่งให้พระเถระนั้นมาเฝ้า แล้วตรัสถามถึงเรื่องนี้ เมื่อพระเถระยอมรับว่าได้พูดอย่างนั้นจริง พระศาสดาทรงใช้อตีตังสญาณย้อนรำลึกถึงอดีตชาติของพระเถระ ทรงทราบว่าเมื่อ 500
ที่ผ่านมา
พระเถระเคยเกิดในวรรณะพราหมณ์มาตลอด
ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่าพวกตนมีฐานะสูงส่งกว่าพวกคนวรรณะอื่น คำว่า “คนถ่อย “นี้พระเถระเคยพูดมาจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นพระศาสดาจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
พระเถระไม่ได้จงใจที่จะพูดกระทบกระทั่งคนอื่น
เพราะปกติแล้วพระขีณาสพจะไม่พูดคำระคายหู
หรือคำหยาบใดๆ
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
อกกฺกสํ
วิญฺญาปนึ
คิรึ
สจฺจํ อุทีรเย
ยาย
นาภิสเช กญฺจิ
ตมหํ
พฺรูหิ พฺราหฺมณํ ฯ
ผู้ใด
พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู
อันให้รู้กันได้เป็นคำจริง
อันเป็นเหตุไม่ยังใครๆให้ขัดใจ
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น