07.เรื่องจูฬธนุคคหบัณฑิต
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภภิกษุหนุ่รูปหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า
วิตกฺกมถิตสฺส เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง นำภัตตาหารไปฉันอยู่ในโรงฉัน หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยากจะดื่มน้ำ
จึงไปที่บ้านหลังหนึ่ง เพื่อขอน้ำดื่ม
และมีหญิงสาวคนหนึ่งตักน้ำมาถวายให้ดื่ม
นางเห็นภิกษุนั้นแล้วเกิดความพึงพอใจ
ต้องการจะได้ภิกษุมาเป็นสามี จึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
เมื่อมีความต้องการน้ำดื่ม
ท่านก็พึงมาในเรือนนี้แหละแม้อีก” ตั้งแต่นั้นมา
ภิกษุนั้นเมื่อต้องการน้ำดื่มก็ได้ไปที่บ้านหลังนั้นเป็นประจำ ต่อมา
นางได้นิมนต์ภิกษุนั้นไปฉันภัตตาหารที่บ้าน
และได้ถือโอกาสบอกกับท่านว่า
ที่บ้านของนางมีทุกสิ่งทุกอย่าง
จะขาดก็แต่เพียงคนที่จะมาช่วยดูแลจัดการเท่านั้น
ภิกษุพอได้ยินเช่นนั้นก็เกิดความรักในหญิงสาว และต้องการจะสึกออกไปครองรักกับนางมาก จนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายผ่ายผอม
ภิกษุอื่นๆจึงได้นำเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสเรียกภิกษุนั้นมาเฝ้า และตรัสเล่าว่า
ผู้หญิงคนนี้เคยทำเรื่องไม่ดีแบบเดียวกันนี้กับภิกษุนี้มาแล้วในอดีตชาติ โดยในครั้งนั้น ภิกษุนี้เป็นจูฬธนุคคหบัณฑิต ไปศึกษาอยู่ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในกรุงตักกสิลา หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ลูกสาวของอาจารย์เป็นภรรยา ขณะพากันเดินทางจะกลับบ้านของฝ่ายชาย พบโจรป่ากลางทาง เกิดการต่อสู้ระหว่างจูฬธนุคคหบัณฑิต
กับหัวหน้าโจร ขณะที่จูฬธนุคคหบัณฑิตจับหัวหน้าโจรฟาดล้มลงที่พื้นดิน
จึงร้องบอกให้ภรรยาส่งดาบให้
แต่ภรรยาเกิดรักในหัวหน้าโจรอย่างฉับพลัน
แทนที่จะยื่นดาบนั้นให้สามีกลับยื่นให้แก่หัวหน้าโจร ให้หัวหน้าโจรฆ่าสามี จากนั้นได้ตรัสประชุมชาดกว่า จูฬธนุคคหบัณฑิค คือ
ภิกษุรูปนี้ ส่วนหญิงที่เป็นภรรยา ก็คือ หญิงสาวแรกรุ่นคนนี้นี่เอง
แล้วทรงโอวาทภิกษุนั้นว่า “ หญิงนั้น ปลงบัณฑิตผู้เลิศ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จากชีวิต
เพราะความสิเนหาในชายคนหนึ่ง
ซึ่งตนเป็นครู่เดียวนั้นอย่างนี้
ภิกษุ เธอจงตัดตัณหาของเธอ อันปรารภหญิงนั้นเกิดขึ้นเสีย”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
วิตกฺกมถิตสฺส
ชนฺตุโน
ติพฺพราคสฺส
สุภานุปสฺสิโน
ภิยฺโย
ตณฺหา ปวฑฺฒติ
เอส
โข ทฬฺหํ กโรติ
พนฺธนํ ฯ
วิตกฺกูปสเม
จ โย รโต
อสุภํ
ภาวยตี สทา สโต
เอโส
โข พฺยนฺติกาหติ
เอสจฺฉินฺทติ
มารพนฺธนํ ฯ
ตัณหา
ย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี
มีราคะจัด
เห็นอารมณ์ว่างาม
บุคคลนั่นแล
ย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น.
ส่วนภิกษุใด
ยินดีในธรรมเป็นที่เข้าไประงับวิตก
เจริญอสุภฌานอยู่มีสติทุกเมื่อ
ภิกษุนั่นแล
จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้
ภิกษุนั่น
จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุนั้นบรรลุโสดาปัตติผล พระธรรมเทศนามีประโยชน์ แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น