07.เรื่องพระสารีบุตรเถระ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระสารีบตรเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น พฺราหฺมณสฺส
เป็นต้น
พระสารีบุตรเถระ ได้รับการยกย่องจากประชาชนโดยทั่วไปว่า ท่านเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้นเป็นเลิศ แม้ว่าจะมีคนด่า คนทุบตี
ท่านก็จะไม่โกรธ พราหมณ์คนหนึ่ง เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ต้องการจะพิสูจน์ว่าพระเถระมีความอดทนและไม่โกรธจริงหรือไม่ เขาจึงจะทดลองยั่วยุให้ท่านโกรธ จึงในวันหนึ่ง
เมื่อเห็นพระเถระกำลังเดินบิณฑบาตอยู่นั้น
พราหมณ์นั้นได้เดินตามท่านไปแล้วเอามือไปทุบหลังท่านอย่างรุนแรง
พระเถระไม่แสดงความสนใจแม้กระทั่งว่าหันกลับมามองว่าใครเป็นผู้ทำร้ายท่าน
ท่านยังคงเดินต่อไปเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เมื่อเห็นพระเถระไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอะไรออกมาเช่นนั้น พราหมณ์นั้นก็เกิดความตื่นตระหนก ทั่วร่างกายเกิดความเร่าร้อน จึงได้ก้มลงกราบที่เท้าของท่าน
แล้วกล่าวขอขมาโทษว่า “ขอท่านจงอดโทษแก่กระผมเถิด
ขอรับ” เมื่อพระเถระกล่าวยกโทษให้แล้ว
พราหมณ์นั้นก็ได้นิมนต์พระเถระไปรับบาตรที่บ้านของเขาในวันรุ่งขึ้น
ในตอนเย็นของวันนั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และพระศาสดาได้ทราบเรื่องนี้แล้วจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อว่าประหารพราหมณ์ ย่อมไม่มี
แต่พราหมณ์ผู้สมณะจักเป็นผู้ถูกพราหมณ์คฤหัสถ์ประหารได้ ขึ้นชื่อว่าความโกรธนั่นย่อมถึงความถอนได้ ด้วยอนาคามิมรรค”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
น
พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย
นาสฺส
มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ
พฺราหมณสฺส หนฺตารํ
ตโต
ธิ ยสฺส มุญฺจติ
ฯ
น
พฺราหฺมณสฺเสตทกิญจิ เสยฺโย
ยทานิเสโธ
มนโส ปิเยหิ
ยโต
ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต
ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ ฯ
พราหมณ์ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์
ไม่ควรจองเวรแก่เขา
น่าติเตียนพราหมณ์ผู้ประหารพราหมณ์
น่าติเตียนพราหมณ์ผู้จองเวร
ยิ่งกว่าพราหมณ์ผู้ประหารนั้น.
ความเกียจกันใจ จากอารมณ์อันเป็นที่รักทั้งหลายใด
ความเกียจกันนั่น ย่อมเป็นความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์
ใจอันสัมปยุตด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับได้จากวัตถุใดๆ
ความทุกข์
ย่อมสงบได้เพราะวัตถุนั้นๆ นั่นแล.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น