05.เรื่องพระนางเขมา
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร
พระนามว่าเขมา ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า เย ราครตา เป็นต้น
พระนางเขมาเป็นพระมเหสีเอกของพระเจ้าพิมพิสาร พระนางมีพระสิริโฉมงดงามมาก
เพราะได้เคยตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระปทุมุตรพุทธเจ้า พระนางไม่ทรงต้องการจะไปเฝ้าพระศาสดาเพราะทรงเกรงว่าพระศาสดาจะทรงตำหนิโทษความงามของพระนาง จึงได้ทรงหลีกเลี่ยงอยู่ตลอดมา
แต่พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะให้พระนางเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาที่พระเวฬุวันให้ได้
จึงรับสั่งให้นักประพันธ์เพลงแต่งเพลงพรรณนาความงามและความรื่นรมย์ของพระเวฬูวัน
จนพระนางเขมาได้สดับแล้ว
มีความหลงใหลอยากจะเสด็จไปชม
เมื่อพระนางเขมาเสด็จเข้าไปในวัดพระเวฬุวันนั้น
พระศาสดาทรงแสดงธรรมให้แก่มหาชนได้ฟังกันอยู่ พระองค์จึงทรงเนรมิตร่างนางงามผู้หนึ่ง ยืนถือพัดก้านตาลถวายงานพัดอยู่ที่ข้างพระองค์
และรูปหญิงนี้เห็นได้เฉพาะพระนางเขมาเท่านั้น เมื่อพระนางเข้ามาสู่ที่ประชุมฟังธรรมนั้น ทอดพระเหตุเห็นหญิงงามนั้นแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับความงามของพระนาง
ได้เห็นประจักษ์ว่านางงามที่ถวายงานพัดพระศาสดาอยู่นั้นมีความงามเลิศล้ำกว่าพระนางมาก ขณะที่พระนางจ้องพระเนตรมองดูนางงามอยู่นั้น
พระศาสดาได้บันดาลให้ร่างของนางงามนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับคือ เป็นหญิง
กลางคน เป็นหญิงชรา เจ็บป่วย สิ้นชีวิต
มีหนอนชอนไชออกมาจากซากศพ และเหลืออยู่แต่เพียงกองกระดูก เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้
พระนางเขมาก็ทรงประจักษ์ถึงความไม่เที่ยงและความปราศจากแก่นสารของความงาม
พระศาสดา
ทรงตรวจดูวารจิตของพระนางเขมาแล้ว
จึงตรัสว่า “เขมา เธอคิดว่า
สาระมีอยู่ในรูปนี้หรือ ? เธอจงดูความที่รูปนั้นหาสาระมิได้ ในบัดนี้”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
เย
ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ
สยํ
กตํ มกฺกฎโกว ชาลํ
เอตมฺปิ
เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา
อนเปกฺขิโน
สพฺพทุกฺขํ ปหาย ฯ
สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ
ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา
เหมือนแมลงมุม
ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้เอง ฉะนั้น
ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาแม้นั้นแล้ว
เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวง.
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระนางเขมา
บรรลุพระอรหัตตผล
เพระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่มหาชน.
พระศาสดาตรัสถามพระราชาว่า ควรจะให้พระนางเขมาบวช
หรือว่าจะให้ปรินิพพาน
พระราชาตรัสว่า
ควรจะให้พระนางบวช
เมื่อพระนางบรรพชาแล้ว
ก็ได้เป็นพระอัครสาวิกา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น