01.เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น เตน
โหติ ธมฺมฏฺโฐ เป็นต้น
ในวันหนึ่ง
พระภิกษุทั้งหลาย
เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้าน
ใกล้ประตูด้านทิศอุดรของนครพาราณสี
กลับจากบิณฑบาตแล้ว
จะกลับไปที่วัดพระเชตวัน
เกิดฝนตกหนัก
จึงได้แวะไปพักรอฝนหยุดตก
ที่ศาลยุติธรรมแห่งหนึ่ง
ได้เห็นพฤติกรรมของมหาอำนาจผู้วินิจฉัยทั้งหลาย(พวกตุลาการ หรือพวกผู้พิพากษา) รับสินบน
ทำให้ผู้ผิดกลายเป็นผู้ถูก
จึงคิดว่า
พวกมหาอำมาตย์เหล่านี้ไม่ตั้งอยู่ธรรม
แต่พวกเรามีความสำคัญว่าเป็นผู้ทำการวินิจฉัยคดีโดยธรรม เมื่อฝนหายตกแล้ว มาถึงวัดพระเชตวัน เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา
กราบทูลสิ่งที่ได้พวกตนประสบให้พระศาสดาทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย
เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ส่วนพวกที่ไต่สวนความผิดแล้ว ตัดสินคดีความโดยปราศจากอคติ ตามสมควรแก่ความผิดนั่นแหละ เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
สองพระคาถานี้ว่า
น
เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ
เยนตฺถํ
สหสา นเย
โย
จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ
อุโภ
นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต ฯ
อสาหเสน
ธมฺเมน
สเมน
นยตี ปเร
ธมฺมสฺส
คุตฺโต เมธาวี
ธมฺมฏฺโฐติ
ปวุจฺจติ ฯ
บุคคลตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ
ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
พิจารณาทั้งข้อถูกและข้อผิด
ถึงจะตัดสินคดีความ.
บัณฑิต ไม่ตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ
แต่โดยสอดคล้องกับหลักกฎหมาย
เป็นผู้คุ้มครองกฎหมาย
เรากล่าวว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริบผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น