01.เรื่องภิกษุหนุ่ม
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า หีนํ ธมฺมํ
เป็นต้น
ครั้งหนึ่ง
พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
ติดตามพระภิกษุชราไปที่บ้านของนางวิสาขา
หลังจากฉันข้าวยาคูแล้ว ภิกษุชราออกจากบ้านนางวิชาเพื่อไปบ้านอื่น จึงได้ปล่อยให้ภิกษุหนุ่มอยู่ที่บ้านของนางวิสาขารูปเดียว หลานของนางวิสาขาขณะกรองน้ำถวายภิกษุหนุ่ม
แลเห็นเงาของตัวเองอยูในตุ่มน้ำก็ส่งเสียงหัวเราะ
เมื่อภิกษุหนุ่มเห็นหลานสาวของนางวิสาขาหัวเราะ ก็ได้มองหน้าเธอแล้วก็หัวเราะบ้าง หลานสาวของนางวิสาขาเกิดอารมณ์เสียเมื่อเห็นภิกษุหนุ่มหัวเรา จึงส่งเสียงตะโกนด่าไปว่า คนหัวขาด หัวเราะอะไร ภิกษุหนุ่มด่ากลับไปบ้างว่า เจ้านะแหละหัวขาด แม่เจ้าก็หัวขาด พอเจ้าก็หัวขาด
หลานสาวของนางวิสาขาร้องไห้ไปฟ้องนางวิสาขาที่โรงครัว นางวิสาขาจึงมาพูดกับภิกษุหนุ่มว่า ท่านเจ้าคะ
อย่าโกรธเลย
คำที่พูดเป็นคำไม่หนักสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีผมและเล็บอันตัดแล้ว ผู้มีผานุ่งผ้าห่มอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัด ณ ท่ามกลาง เที่ยวไปเพื่อภิกษา”
ภิกษุหนุ่มตอบว่า
มันก็จริงอยู่แต่นางไม่น่าจะมาด่าว่าหัวขาดอย่างนั้น นางวิสาขาจึงไม่สามารถให้ภิกษุยอมรับฟังเหตุผล นาง
และเมื่อพระเถระกลับมาที่บ้านนางวิสาขา
ท่านก็ไม่สามารถพูดให้ภิกษุหนุ่มนิ่งได้
ต่อมาพระศาสดาได้เสด็จมาตรัสถามถึงสาเหตุของการทะเลาะวิวาทนั้น
และทรงมองกาลไกลว่าพระภิกษุหนุ่มจะได้บรรลุโสดาปัตติผล ทั้งทรงเห็นว่าพระองค์ควรจะเข้าข้างภิกษุหนุ่ม จึงตรัสกับนางวิสาขาว่า
เป็นการไม่สำควรที่หลานสาวของท่านด่าสาวกของเราว่าหัวขาดเช่นนั้น ภิกษุหนุ่มพอได้ยินพระศาสดาตรัสเข้าข้างเช่นนั้นก็ลุกขึ้นยืนพนมมือถวายบังคมพระศาสดา
แล้วกราบทูลว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานั่นด้วยดี อุปัชฌาย์ของข้าพระองค์และมหาอุบสิกา ย่อมไม่ทราบด้วยดี “
พระศาสดาทรงมีพระประสงค์จะกระตุ้นให้ภิกษุตอบสนองดำรัสของพระองค์มากยิ่งขึ้น จึงตรัสว่า
“การหัวเราะปรารภกามคุณเป็นธรรมอันเลว อนึ่ง การเสพธรรมที่ชื่อว่าเลว และการอยู่ร่วมกับความประมาทย่อมไม่ควร”
จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า
หีนํ
ธมฺมํ น เสเวยฺย
ปมาเทน
น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฐึ
น เสเวยฺย
น
สิยา โลกวฑฺฒโน ฯ
บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว
ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท
ไม่พึงเสพความเห็นผิด
ไม่พึงเป็นคนรกโลก.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุหนุ่มตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น