08. เรื่องท้าวสักกะ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในเวฬุวคาม ทรงปรารภท้าวสักกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สาหุ
ทสฺสนํ เป็นต้น
ในช่วง 10
เดือนก่อนที่พระศาสดาจะดับขันธปรินิพพานนั้น พระศาสดาเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ หมู่บ้านเวฬุวคาม ใกล้กรุงไพศาลี ขณะที่ประทับอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ทรงประชวรด้วยอาพาธลงพระโลหิต เมื่อท้าวสักกะทรงทราบว่าพระศาสดาอาพาธ ก็ได้เสด็จมาที่หมู่บ้านเวฬุวคามนั้น และได้ทรงทำหน้าที่เป็นคิลานุปัฏฐาก(ผู้ดูแลผู้ป่วย)
ของพระศาสดา
แม้พระศาสดาจะตรัสห้ามว่าท้าวสักกะไม่ต้องกังวลในเรื่องพระสุขภาพอนามัยของพระองค์
เพราะมีพระภิกษุถวายความดูแลพระองค์อยู่แล้ว
แต่ท้าวสักกะไม่ทรงยินยอมและได้ทรงมาคอยดูแลจนกระทั่งพระศาสดาทรงหายจากอาพาธ
ภิกษุทั้งหลายมีความประหลาดใจที่พบว่าท้าวสักกะเสด็จมาคอยดูแลพระศาสดาด้วยพระองค์เองเช่นนี้
เมื่อพระศาสดาทรงได้ยินคำสนทนาของภิกษุทั้งหลายในเรื่องนี้ ตรัสว่า
ข้อที่ท้าวสักกเทวราชมีความรักในพระองค์นั้น
ไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะเมื่อตอนท้าวสักกะชราภาพ
พอได้ฟังธรรมจากพระองค์
ก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน
และได้กลับคืนสู่สภาพเป็นหนุ่มอีกครั้งหนึ่ง พระศาสดาได้ตรัสในช่วงท้ายด้วยว่า “การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลก็ดี การอยู่ ณ ที่เดียวกับเหล่าอริยบุคคลก็ดี ให้เกิดสุข
แต่ว่า
กิจเช่นนั้นกับพวกคนพาล
ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น”
จากนั้น
พระศาสดาตรัสพระธรรมบท
สามพระคาถานี้ว่า
สาหุ
ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส
สทา สุโข
อทสฺสเนน
พาลานํ
นิจฺจเมว
สุขี สิยา ฯ
พาลสงฺคตจารี
หิ
ทีฆมทฺธาน
โสจติ
ทุกฺโข
พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว
สพฺพทา
ธีโร
จ สุขสํวาโส
ญาตีนํว
สมาคโม ฯ
[ตสฺมา หิ]
ธีรญฺจ
ปญฺญญฺจ พหุสฺสุตญฺจ
โธรยฺหสีลํ
วตวนฺตมริยํ
ตํ
ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ
นกฺขตฺถปถํว จนฺทิมา ฯ
การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี
การอยู่รวมด้วยเหล่าอริยบุคคล ให้เกิดสุขทุกเมื่อ
บุคคลพึงเป็นผู้มีสุข เป็นนิตย์แท้จริง
เพราะไม่พบเห็นคนพาล.
เพราะว่า
คนเที่ยวสมาคมกับคนพาล
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลยืดยาวนาน
ความอยู่ร่มกับพวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป
เมือนความอยู่ร่วมกับศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ.
(เพราะฉะนั้นแล)
ท่านทั้งหลาย
จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์
และมีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต
นำธุระไปเป็นปรกติ มีวัตร
เป็นอริยบุคคล
เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เช่นนั้น
เหมือนพระจันทร์ ส้องเสพคลองแห่งนักษัตรฤกษ์ ฉะนั้น.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง คนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผล เป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น