06. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัตต์
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ประทับนั่งบนกองทราย
ทรงปรารภปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ชื่ออัคคิทัตต์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า พหุ
เว สรณํ ยนฺติ
เป็นต้น
ที่มาของการตรัสพระธรรมบท ห้าพระคาถานี้มีว่า
อัคคิทัตเป็นปุโรหิตของเจ้ามหาโกศล พระบิดาของพระเจ้าปเสทนิโกศล หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามหาโกศล ปุโรหิตอัคคิทัต ก็ได้นำทรัพย์สมบัติของตนออกบริจาคเป็นทาน
จากนั้นก็ได้ละทิ้งบ้านเรือนออกไปบวชเป็นนักบวชภายนอกพุทธศาสนา
ท่านอัคคิทัตมีศิษย์ที่บวชตามและอยู่ด้วยกันกับท่านจำนวน 10000
ท่านและศิษย์ได้ไปพำนักอยู่ด้วยกันที่พรมแดนระหว่าง แคว้นอังคะ แคว้นมคธ
และแคว้นกุรุ ซึงเป็นสถานที่ซึ่งไม่ไกลจากเนินทรายใหญ่อันเป็นที่อยู่ของพระยานาค
ชื่อ อหิฉัตต์
มีชาวบ้านจากแคว้นอังคะ แคว้นมคธ
และแคว้นกุรุนำเครื่องสักการะมากหลายไปถวายแก่พวงนักบวชโดยการนำของท่านอัคคิทัตต์
ทุกๆเดือน
ท่านอัคคิทัตต์ได้ให้โอวาทแก่คนเหล่านั้นว่า “ พวกท่านจงถึงภูเขาเป็นสรณะ จงถึงป่าเป็นสรณะ จงถึงสวนเป็นสรณะ จงถึงต้นไม้เป็นสรณะ พวกท่านจักพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นได้ด้วยอาการอย่างนี้”
ในเวลาจวนรุ่งของวันหนึ่ง พระศาสดา
ทรงตรวจดูสัตวโลก
ทรงเห็นอัคคิทัตพราหมณ์พร้อมด้วยศิษย์
เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์แล้ว
ทรงทราบว่าทุกคนจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ในตอนเย็น
ได้ตรัสกับพระมหาโมคคัลลานเถระให้เดินทางไปอบรมสั่งสอนอัคคิทัตและศิษย์ในแนวทางที่ถูกต้อง และพระองค์ก็จะเสด็จไปสมทบในภายหลังด้วย
พระมหาโมคคัลลานะได้เดินทางไปยังสถานที่อยู่ของอัคคิทัตพราหมณ์และศิษย์และได้ขอพักอาศัยค้างแรมด้วยสักคืน
อัคคิทัตพราหมณ์ในตอนแรกปฏิเสธที่จะให้ที่พัก
แต่ในที่สุดได้ยอมให้ไปพักที่กองทรายใหญ่อันเป็นที่อยู่ของนาคราชซึ่งมีฤทธิ์เดชมาก
พอนาคราชเห็นพระเถระเดินมาก็ได้แสดงฤทธิ์ด้วยการบังหวนควัน จึงได้เกิดการปะกันด้วยฤทธิ์ของการบังหวนควันระหว่างนาคราชกับพระเถระ
แต่ในที่สุดนาคราชเป็นฝ่ายถูกปราบจนพ่ายแพ้ พระเถระสามารถนั่งอยู่บนกองทรายใหญ่ โดยมีนาคราชแสดงความเคารพพระเถระด้วยการแผ่พังพานขนาดใหญ่เป็นร่มกั้นอยู่เหนือศีรษะพระเถระ เมื่อถึงช่วงเช้าในวันรุ่งขึ้น อัคคิทัตและศิษย์มาที่กองทรายใหญ่
เพื่อจะมาพิสูจน์ว่าพระเถระยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ซึ่งพวกเขาคาดการณ์ไว้ว่าพระเถระต้องเสียชีวิตไปแล้วอย่างแน่นอน แต่พอพวกเขามาพบว่านาคราชถูกปราบและแผ่พังพานถวายความเคารพพระเถระเช่นนี้ ก็เกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมาก เพราะคิดไม่ถึงว่าเหตุการณ์จะกลับตาลปัตรไปได้เช่นนี้
ชั่วครู่ต่อมา
พระศาสดาก็ได้เสด็จมาสมทบ
พระเถระได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา
และได้ประกาศให้อัคคิทัตและศิษย์ได้ทราบว่า พระองค์คือพระศาสดา พระเถระเป็นสาวก พระศาสดาประทับนั่งบนยอดของกองทราบ ตรัสเรียกอัคคิทัตมาแล้ว ตรัสว่า
“อัคคิทัต ท่านเมื่อให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากทั้งหลายของท่าน ย่อมกล่าวว่าอย่างไร”
อัคคิทัตกราบทูลว่า “ข้าพเจ้าให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
จงถึงภูเขานั่นเป็นที่พึ่ง
จงถึงป่า จงถึงสวน จงถึงต้นไม้
ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยว่า บุคคลถึงวัตถุทั้งหลาย มีภูเขาเป็นต้นนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้”
พระศาสดา ตรัสว่า “อัคคิทัต
บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้นนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะสงสารทั้งสิ้นได้”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
ห้าพระคาถานี้ว่า
พหุ
เว สรณํ ยนฺติ
ปพฺพตานิ
วนานิ จะ
อารามรุกฺขเจตฺยานิ
มนุสสา
ภยตชฺชิตา ฯ
เนตํ โข
สรณํ เขมํ
เนตํ
สรณมุตฺตมํ
เนตํ
สรณมาคมฺม
สพฺพทุกฺขา
ปมุจฺจติ ฯ
โย
จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ
สงฺฆญฺจ
สรณํ คโต
จตฺตาริ
อริยสจฺจานิ
สมฺมปฺปญฺญาย
ปสฺสติ ฯ
ทุกฺขํ
ทุกขสมุปฺปาทํ
ทุกฺขสฺส
จ อติกฺกมํ
อริยญจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ
ทุกฺขูปสมคามินํ ฯ
เอตํ
โข สรณํ เขมํ
เอตํ
สรณมุตฺตมํ
เอตํ
สรณมาคมฺม
สพฺพทุกฺขา
ปมุจฺจติ ฯ
มนุษย์เป็นอันมาก
ถูกภัยคุกคามแล้ว
ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม
และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง
สรณะนั่นแลไม่เกษม
สรณะนั่นไม่อุดม
เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น
ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ย่อมเห็นอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ความก้าวล่วงทุกข์.
และมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ
ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ
สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดม
เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ฤษีทั้งหมด
บรรลุพระอรหัตตผล
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว
ถวายบังคมพระศาสดา
ทูลขอบรรพชา
พระศาสดาทรงประทานให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ว่า “ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์”
(ไม่มีคำว่า
เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โยชอบ
เพราะทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ก่อนบวช)
ในวันนั้นเมื่อสาวกของอัคคิทัตจากแคว้นอังคะ แคว้นมคธ
และแคว้นกุรุ
ถือเครื่องสักการมาไหว้อัคคิทัต ได้เห็นอัคคิทัตและบรรดาสาวกนุ่งห่มผ้าบวชเป็นภิกษุ ก็เกิดความอัศจรรย์ใจสงสัยว่า ใครมีอานุภาพมากกว่ากัน อาจารย์ของเรา หรือว่าพระสมณะโคดม ? อาจารย์ของเราต้องมีอานุภาพเหนือกว่า
เพราะว่าพระสมณะโคดมเป็นฝ่ายมาสู่สำนักของอาจารย์ของเรา”
พระศาสดาทรงทราบความคิดของคนเหล่านั้น
และอัคคิทัตเองก็คิดว่าจะต้องทำให้คนเหล่านั้นสิ้นความสงสัย จึงได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา และประกาศว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น