07.เรื่องพระโลฬุทายีเถระ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระโลฬุทายีเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส เป็นต้น
พระโลฬุทายี
เมื่อรับนิมนต์ไปที่บ้านของประชาชนที่เขาจัดงานมงคล ก็จะสวดบทมนต์สำหรับใช้ในงานอวมงคล เช่น ติโรกุฑฑสูตร ที่ขึ้นต้นว่า
ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐฺนติ เป็นต้น
แต่เมื่อไปในงานอวมงคล
เมื่อควรสวดด้วยติโรกุฑฑสูตร
กลับสวดด้วยมงคลกถา
ที่มีข้อความเป็นต้นว่า
ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ
หรือ รัตนสูตร ที่มีข้อความเป็นต้นว่า ยงฺกิญจิ วิตฺตํ อิธ
วา หุรํ วา
เป็นต้น พวกภิกษุทั้งหลาย ฟังบทสวดของท่านแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดา ให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า พระโลฬุทายีควรกล่าวนี้ แต่ไพล่ไปกล่าวเสียอีกอย่าง เป็นการกระทำที่มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะในชาตินี้
แม้แต่ในอดีตชาติพระโลฬุทายีก็เคยกระทำเช่นนี้มาเหมือนกัน
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าสนใจจะได้ฟังอดีตชาติของพระโลฬุทายี พระศาสดาจึงทรงนำมาเล่าให้ฟัง แล้วสรุปในช่วงท้ายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
โลฬุทายีนี้ เมื่อคำอื่นอันตนควรพูด ก็ไพล่พูดคำอื่นเสีย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
เธอก็พูดแล้ว
เพราะความที่ตนเป็นคนมีธรรมได้สดับน้อย
เพราะว่าคนมีสุตะน้อย
ชื่อว่าเหมือนโคถึก”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
อปฺปสฺสุตายํ
ปุริโส
พลิพทฺโทว
ชีรติ
มํสานิ
ตสฺส วฑฺฒนฺติ
ปญฺญา
ตสฺส น วฑฺฒนฺติ
ฯ
คนมีสุตะน้อย
ย่อมแก่เหมือนโคถึก
เนื้อของเขาย่อมเจริญ
แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น