07.เรื่องอตุลอุบาสก
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภอุบาสกชื่ออตุละ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โปราณเมตํ เป็นต้น
อตุลอุบาสก
เป็นชาวกรุงสาวัตถี
มีอุบาสกเป็นบริวาร 500
คน วันหนึ่งพาอุบาสกเหล่านั้นไปที่วัดพระเชตะวัน เพื่อต้องการจะฟังธรรม ได้ไปพบพระเรวตเถระเป็นองค์แรก พระเรวตเถระเป็นพระชอบปลีกวเวก ชอบเที่ยวไปองค์เดียว ไม่ค่อยจะสุงสิงกับใคร ท่านจึงไม่พูดอะไรกับอตุลอุบาสกและบริวาร ทำให้อตุลอุบาสกโกรธ พาบริวารไปพบกับพระสารีบุตรเถระ
พระสารีบุตรเถระจึงได้แสดงเรื่องอภธรรมให้ฟังอย่างละเอียดและยืนยาวมาก อตุลอุบกก็โกรธอีก บอกว่าทำไมแสดงธรรมเสียยืดยาว จึงพาบริวารเดินทางไปพบพระอานนทเถระ พระอานนทพุทธอุปัฏฐาก แม้ว่าจะเชี่ยวชาญทางด้านพหูสูต แต่ก็ได้แสดงธรรมแต่เพียงสั้นๆและที่เข้าใจได้ง่ายๆให้ฟัง อตุลอุบาสกก็โกรธอีก ได้พาบริวารไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลถึงพฤติกรรมของพระเถระแต่ละรูป คือของ พระเรวตเถระที่ไม่ยอมพูดจาอะไร ของพระสารีบุตรที่แสดงธรรมที่ยาวและยาก
และของพระอานนท์ที่แสดงธรรมที่สั้นและง่ายจนเกนไป พระศาสดาได้ตรัสว่า “อตุละ
ข้อนั้น
เขาเคยประพฤตกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว
ชนทั้งหลายติเตียน ทั้งคนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก
ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว ด้วยว่า ผู้อันเขาพึงติเตียนอย่างเดียวเท่านั้น หรือว่า
ผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียว
ไม่มีเลย แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ แผ่นดินใหญ่ก็ดี พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี คนบางพวกนินทา
บางพวกสรรเสริญ
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท 4
คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ
ก็การนินทาหรือสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ แต่ผู้ที่ถูกบัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่า
เป็นอันติเตียน
ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว
ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
โปราณเมตํ
อตุล
เนตํ
อชชตนามิว
นินทนฺติ
ตุณฺหีมาสีนํ
นินฺทนติ
พหุภาณินํ
มิตภาณึปิ
นินฺทนฺติ
นตฺถิ โลเก
อนินฺทิโต ฯ
น
จาหุ น จ
ภวิสฺสติ
น
เตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺตํ
นินฺทิโต โปโส
เอกนฺตํ
วา ปสํสิโต
ยญเจ
วิญฺญู ปสํสนฺติ
อนุวิจจ
สุเว สุเว ฯ
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ
ปญญาสีลสมาหิตํ
นิกฺขํ
ชมฺโพนทสฺเสว
โก
ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ
นํ ปสํสนฺติ
พรหฺมุนาปิ
ปสํสิโต ฯ
อตุละ
การนินทาหรือการสรรเสริญนั่น เป็นของเก่า
นั่นไม่ใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้
ชนทั้งหลาย
ย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง
ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง
ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง
ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
คนถูกนินทาโดยส่วนเดียว
หรือว่าอันเขาสรรเสริญโดยส่วนเดียว
ไม่ได้มีแล้ว
จักไม่มี
และไม่มีอยู่ในบัดนี้ ฯ
หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุกๆวัน
สรรเสริญผู้ใด
ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย
มีปัญญา
ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล
ใครเล่าย่อมควร เพื่อติเตียนผู้นั้น
ผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท
แม้เทพดาทั้งหลาย ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหม
ก็สรรเสริญแล้ว.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง อุบาสกเหล่านั้นทั้ง 500
บรรลุโสดาปัตตผล.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น