10.เรื่องพระอัตตทัตถเถระ
พระศาสดา
เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระอัตตทัตถเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “อตฺตนาว กตํ
ปาปํ” เป็นต้น
เมื่อพระศาสดาทรงประกาศว่า พระองค์จะปรินิพพานในอีกสี่เดือนข้างหน้า ภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนเป็นจำนวนมาก
มีความสลดหดหู่
ไม่ยอมทิ้งสำนักพระศาสดาไปไหน
เที่ยวปรึกษาหารือกันว่า
ควรจะทำอย่างไรกันดี
แต่พระอัตตทัตถเถระ
กลับไม่ไปยังสำนักของพระศาสดา
แต่ทว่าได้ตกลงใจว่าจะบรรลุพระอรหัตตผลให้ได้ในระหว่างที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี้ จึงได้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอย่างขะมักเขม้น ภิกษุอื่นๆ ไม่เข้าใจการกระทำของพระเถระ จึงนำเรื่องนี้เข้ากราบทูลพระศาสดา เมื่อพระศาสดาได้ทรงเรียกพระเถระมาเฝ้า ทรงสอบถามและทราบความจริงแล้ว ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่าชนทั้งหลายบูชาอยู่ ด้วยวัตถุต่างๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชาเรา
ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชาเรา เพราะฉะนั้น
แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ”
จากนั้น
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถานี้ว่า
อตฺตทตฺถํ
ปรตฺเถน
พหุนาปิ
น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย
สทตฺถปฺปสุโต
สิยา ฯ
บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน
ให้เสื่อมเสียเพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก
รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว
พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง พระเถระนั้น
ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ภิกษุผู้มาประชุมกันทั้งหลาย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น