วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พุทธวรรค:04.เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ



04.เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภปัญหาของพระอานนทเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สพฺพปาปสฺส  อกรณํ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  พระอานทเถระ  นั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า  พระศาสดาตรัสบอกเรื่องราวของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ทุกอย่าง คือ  พระชนนี  พระชนก  การกำหนดพระชนมายุ  ไม้ที่ตรัสรู้  สาวกสันนิบาต  อัครสาวก  อุปัฏฐาก  แต่มิได้ตรัสบอกในเรื่องอุโบสถ   อุโบสถของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะเหมือนกันหรือไม่  จึงเข้าไปทูลถามพระศาสดา   ก็ได้รับคำตอบว่า  พระพุทธเจ้า  พระนามว่า วิปัสสี  ได้ทรงกระทำอุโบสถในทุก 7 ปี  เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานแล้วในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ 7 ปี  พระพุทธเจ้า  พระนามว่าสิขีและเสสภู  ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ 6 ปี  เพราะพระโอวาทที่พระพุทธเจ้า 2 พระองค์นั้น ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ 6 ปี    พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะ  ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ปี  เพราะพระโอวาทที่พระพุทธเจ้า 2 พระองค์นั้น  ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ปีหนึ่งๆ  พระพุทธจ้า  พระนามว่ากัสสปะ  ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ 6 เดือน  เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้  6  เดือน  ส่วนโอวาทของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น  เป็นอย่างนี้   แล้วพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  3 พระคาถานี้ว่า

สพฺพปาปสฺส  อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ  พุทฺธานสาสนํ ฯ

ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น
ความยังกุศลให้ถึงพร้อม
ความทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา
นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา
  หิ  ปพฺพชิโต  ปรูปฆาตี
สมโณ  โหติ  ปรํ  วิเหฐยนฺโต 

ความอดทนคือความอดกลั้น
เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย  ย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นเยี่ยม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น  ไม่ชื่อว่าบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

อนูปวาโท  อนูปฆาโต
ปาฏิโมกฺเข    สํวโร
มตฺตญฺญุตา    ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ  สยนาสนํ
อธิจิตฺเต    อาโยโค
เอตํ  พุทธานสาสนํฯ

ความไม่กล่าวร้าย 1  ความไม่ทำร้าย 1 
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้ประมาณ  ในอาหาร1
ที่นอนที่นั่งอันสงัด 1
ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต 1
นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น